20-07-2023

โครงการพัฒนา Enterprise Software สำหรับระบบโซ่อุปทานสาธารณสุขประเทศไทย

ระบบโซ่อุปทานสาธารณสุขถือเป็นห่วงโซ่ที่มีความซับซ้อนและมีความแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ กิจกรรมที่ทำให้เกิดต้นทุนหลักของห่วงโซ่อุปทานสาธารณสุขไทยคือการบริหารจัดการยาและเวชภัณฑ์ หนึ่งในสาเหตุที่สำคัญ คือ ขาดการบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงาน และขาดการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ โครงสร้างมาตรฐานการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างสมาชิกในโซ่อุปทานสาธารณสุขทั้งระบบ ดังนั้นเพื่อให้การทำงานแต่ละจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับยาและเวชภัณฑ์ตั้งแต่ “ต้นน้ำ” จนถึง “ปลายน้ำ” นั้น สามารถเชื่อมโยงและประสานเป็นหนึ่งเดียวกันได้ ทำให้การบริหารจัดการการทำงานระหว่างกันมีประสิทธิภาพมากที่สุด ปัจจัยหนึ่งที่สำคัญในการทำงานเชื่อมโยงกัน นั่นคือ “ข้อมูล” บน Enterprise Software ที่สามารถทำให้ข้อมูลเชื่อมต่อกันได้

ดังนั้นโครงการวิจัยนี้จึงมุ่งศึกษาระบบโซ่อุปทานยาและเวชภัณฑ์โดยรวม เพื่อนำไปออกแบบสถาปัตยกรรมเชิงเทคนิคระบบเทคโนโลยีสารสนเทศบนแนวคิด Enterprise และพัฒนาต้นแบบระบบโปรแกรมสารสนเทศEnterprise Software เพื่อใช้เป็นระบบการวางแผนในโซ่อุปทานภายในและภายนอก ทำให้เกิดการเชื่อมโยงกับผู้ผลิตผู้กระจายสินค้าและสถานบริการสุขภาพนำร่อง และระบบโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นนี้จะใช้สนับสนุนแนวคิดการบริหารจัดการสต็อกด้วยหน่วยงานกลาง (Supply Process Distribute : SPD)

ผลการศึกษาวิจัยที่ได้ สามารถสรุปดังนี้

ต้นแบบระบบโปรแกรมสารสนเทศที่ใช้ในการวางแผนในโซ่อุปทานภายในและภายนอก(Smart System for SPD :SSS)  ระบบนี้เป็นระบบที่เชื่อมโยงข้อมูลทั้งโซ่อุปทานภายในและภายนอก ระหว่างผู้ผลิต ผู้กระจายสินค้า และสถานบริการสุขภาพ โดยระบบมีฟังก์ชั่นการทำงาน ดังนี้

– รับส่งผ่านข้อมูลในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างหน่วยงาน (Electronic Data Interchange: EDI) โดยเอกสารที่สำคัญที่ใช้ในการดำเนินการ ได้แก่  Purchase Order (PO) และ Advanced Shipment Notice (ASN)

– แสดงอัตราการใช้ และระดับสต็อกของยาและเวชภัณฑ์ที่มีการจัดเก็บอยู่ในคลังย่อย โรงพยาบาล และสามารถมองเห็นยอดการใช้งานที่คลังย่อยและโรงพยาบาลใช้ไป ด้วยระบบ E-Kanban ซึ่งเป็นระบบที่ใช้อ่าน-บันทึกข้อมูลยอดการใช้ และจากนั้นข้อมูลจะเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบกลาง (Smart System for SPD :SSS) ต่อไป

– สร้างและรักษาแผนการสำรองยาและเวชภัณฑ์คงคลังและช่วยพยากรณ์การเติมยาและเวชภัณฑ์ (VMI Replenishment) เพื่อให้ยาและเวชภัณฑ์อยู่ในระดับที่ได้ตกลงกัน

จะเห็นได้ว่าระบบโปรแกรมสารสนเทศที่พัฒนาขึ้นภายใต้โครงการวิจัยนี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพตั้งแต่กระบวนการวางแผน การจัดซื้อ การขนส่ง ตลอดจนการบริหารจัดการสต็อก ซึ่งทั้งหมดนี้จะช่วยลดต้นทุนโซ่อุปทานยาและเวชภัณฑ์องค์รวมในระดับประเทศลงได้อย่างมาก

Researcher
รองศาสตราจารย์ ดร.ดวงพรรณ กริชชาญชัย ศูนย์การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานสุขภาพ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะ
Agency
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี พ.ศ. 2560

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า