08-09-2023

โครงการการปฏิรูประบบจ่ายและกระจายยาเพื่อพัฒนาระบบสุขภาพแบบบูรณาการ

ตั้งแต่ปี 2562 ได้มีการดำเนินการโครงการรับยาที่ร้านขายยา โดยมีรูปแบบต่างๆ รวมสามรูปแบบ โดย ผลการดำเนินงานโครงการรับยาใกล้บ้านโดยภาพรวม ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2562 – 1 กรกฎาคม 2563 มีโรงพยาบาลเข้าร่วมโครงการ 130 แห่ง ร้านยา 1,033 แห่ง ผู้ป่วยสะสม 17,154 คน และจำนวนการรับยา 24,870 ครั้ง โดยกิจกรรมการให้บริการของร้านยาประเภทที่ 1 เป็นรูปแบบที่ 1 (Model1) ที่โรงพยาบาลจะเป็นผู้คัดเลือกยา จัดซื้อยา สำรองยาไว้สำหรับผู้ป่วย จัดเตรียมยาให้ผู้ป่วยราย บุคคลและส่งให้ร้านยาเพื่อส่งมอบแก่ผู้ป่วยพร้อมทั้ง ให้คำแนะนำการใช้ยาต่อไป มีส่วนน้อยที่จัดกิจกรรมการ ให้บริการเป็นรูปแบบที่ 2 (model2) ที่โรงพยาบาลเป็นผู้คัดเลือก จัดซื้อยาเท่านั้น แล้วจัดสำรองยาไว้ที่ ร้านยา ร้านยาจะเปรียบเสมือน คลังยาขนาดย่อมของโรงพยาบาล ร้านยาเป็นผู้จัดเตรียมยาให้ผู้ป่วยรายบุคคล ตามใบสั่งแพทย์ และส่งมอบให้แก่ผู้ป่วย พร้อมทั้งให้คำแนะนำการใช้ยา การปฏิบัติตัวแก่ผู้ป่วยต่อไป จากผลการดำเนินงาน โครงการลดความแออัดของโรงพยาบาล โดยให้มารับยาที่ร้านยาแผน ปัจจุบันประเภท 1 ของโรงพยาบาลลำพูน มีผู้ป่วยไปรับยาที่ร้านยาในเครือข่ายโรงพยาบาลลำพูน จำนวน 919 คน ซึ่งเป็นลำดับที่ 4 ของประเทศ หากคิดตามจำนวนใบสั่งต่อประชากรถือว่าเป็นอันดับ 1 ของประเทศ ซึ่งมีใบสั่งยาที่รับยาแล้วจำนวน 2,770 ใบ และได้มี

การขยายโครงการ Prescribing refill การรับชุดตรวจ ATK ยาเม็ดคุมกำเนิด ถุงยางอนามัย การตรวจรับรองผลคัดกรองโควิด-19 และการให้ยาชุดรักษาพยาบาลเบื้องต้นสำหรับผู้ป่วยกลุ่มโควิดที่สามารถทำ self-solation ได้ที่บ้าน อย่างไรก็ดีการดำเนินการโครงการรับยาที่ร้านขายยาแม้ประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง แต่ยังมีข้อจำกัดพอสมควร โดยยังไม่ได้กระจายออกไปในทุกระดับการให้บริการสุขภาพและทุกสิทธิ/สวัสดิการการรักษาพยาบาล ทำให้ไม่ได้บรรลุเป้าประสงค์ในการลดความแออัดของโรงพยาบาล ยังเป็นการดำเนินการของภาครัฐเป็นหลักโดยไม่ได้มีความร่วมมือจากผู้มีส่วนได้เสียทั้งห่วงโซ่อุปทานของระบบจัดยาและกระจายยา ทีมผู้วิจัยเห็นว่าระบบการรับยาที่ร้านขายยาในปัจจุบัน แม้เป็นแนวคิดที่ดี แต่มีข้อจำกัดในการดำเนินการและกระจายตัวให้เป็นมาตรฐานที่จะพัฒนาระบบสุขภาพแบบบูรณาการ ดังนั้นการศึกษาวิจัยนี้มุ่งหวังที่จะศึกษาอย่างเป็นระบบถึงปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อระบบการจ่ายยาที่ร้านขายยา ทั้งด้านกฎหมาย ระเบียบ ต้นทุน business model และพัฒนาเครื่องมือที่ช่วยในการตัดสินใจเลือกรูปแบบที่เหมาะสมต่อบริบท

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ คือเกิดเครื่องมือและข้อเสนอเชิงนโยบายที่ทำให้ระบบการจ่ายและกระจายยาพัฒนาไปใช้ได้ทั้งประเทศ

Researcher
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพ. ชูศักดิ์ โอกาศเจริญ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะ
Agency
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.)

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า